จัดกระเป๋าไปเรียนต่อ (3)

แฮนด์ส ออน เชียงใหม่ – จัดกระเป๋าไปเรียนต่อ (3)

ไอที อิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องเขียน

ตอนนี้คงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอยู่แล้วที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนสำคัญในการเรียนและวิถีชีวิต

Macbook Pro Turned Offคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

ในแง่ราคาที่เมืองไทยอาจจะถูกกว่าไม่ได้มากมายนัก แต่ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่อังกฤษสูงกว่าพอควรครับ สรุปว่าไม่ได้ต่างกันมากครับ และยิ่งตอนนี้มีการซื้อของออนไลน์ที่อังกฤษก็เป็นที่นิยมและเป็นเรื่องปกติที่สุด เหมือนกับที่เมืองไทยบ้านเราครับ ด้งนั้น ราคาขายปลีกของแต่ละเมืองในอังกฤษก็ไม่ได้ต่างกันแล้ว  ถ้าลงโปรแกรมเองได้ ซื้อเอาที่นั่นก็ดีครับ เพราะว่าจะได้โปรแกรมแท้แถมมา (บังคับขาย) และ ยังได้ประกันเต็มรูปแบบที่อังกฤษด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องแป้นพิมพ์ไม่มีภาษาไทยก็แก้ไขได้ โดยการซื้อสติ๊กเกอร์ไปแปะ เอาแบบใสและดูให้มีคุณภาพดีนิดนึงครับ จะได้สวย ๆ

ส่วนเรื่องซอฟท์แวร์ เท่าที่ปรากฏก็ไม่ได้มีการเปิดเครื่องตรวจอย่างที่สหรัฐฯ แต่ว่าการใช้ซอฟท์แวร์แท้ซึ่งเดี๋ยวนี้ราคาไม่ได้แพงมากแล้ว หลาย ๆ หลักสูตรที่ต้องมีการใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะ ทางคณะหรือภาควิชามักมีแจกให้ใช้ครับ อย่างไร เดี๋ยวจะลองรวบรวมไว้ให้ดูกันนะครับ  ในหลาย ๆ สาขาวิชาที่เราจะไปเรียน ก็ลองสอบถามไปทางนั้นก่อนได้ครับ

ถ้ายังไม่มีกระเป๋าคอมพิวเตอร์ก็อาจจะอยากลองดูนะครับ กระเป๋าอาจเป็นแบบสะพายข้าง แบบถือ หรือ แบบเป้ ก็แล้วแต่ชอบเลยครับ เพราะเราอาจจะต้องใส่หนังสือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และอื่น ๆ ไปเรียนครับ ที่สำคัญคือ อาจจะต้องดูแนบเนียน ไม่โดดเด่นว่าเป็นกระเป๋าคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัยครับ

บางคนก็เลือกที่จะซื้อคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แต่ที่ตัวเครื่องแบบเล็กเพื่อต่อกับจอใหญ่ ๆ อย่างพวกแมคมินิก็น่าสนใจครับ  หรือ จะเป็นแบบ ออล-อิน-วันก็ราคาไม่แพง และเหมาะกับการงานดีอยู่ครับ

ในเรื่องราคา ตอนนี้น่าจะพอ ๆ กันกับที่บ้านเรา แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าครับ (20 เปอร์เซ็นต์ ที่อังกฤษ ที่บ้านเรา 7 เปอร์เซ็นต์) แต่เราจะได้ประกันที่อังกฤษอย่างน้อย 2 – 3 ปีครับ

สายแลน สายไฟ ปลั๊กต่อ และอแดปเตอร์

สายแลน

สำหรับห้องพักโดยมากจะยังมีช่องให้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายเป็นพื้นฐาน เหตุที่ไม่ได้เป็น Wifi เพราะสัญญาณอาจแรงไม่เท่ากัน อันนี้น่าจะได้ใช้ครับ

 

universal socketสายไฟ ปลั๊กต่อ และอะแดปเตอร์

ที่อังกฤษ ระบบไฟฟ้าใกล้เคียงกับเราครับ เป็น 240 โวลต์ ปลั๊กเป็นสามขาแบบเหลี่ยมและใหญ่กว่าบ้านของเราครับ โดยหลักการแล้ว เราก็แค่เตรียมอะแดปเตอร์เพื่อให้เสียบกันได้ก็พอครับ เรื่องระบบคงไม่ต้องห่วงครับเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะเอากันไปนั้น เช่น โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล และคอมพิวเตอร์ มันมีตัวแรงปรับแรงดันและกำลังไฟอยู่แล้วครับ (ไอ้กล่องดำที่อยู่กับสายไฟนั่นล่ะครับ)

ปลั๊กแบบที่เสียบเข้าได้ทุกแบบครับ มาได้ตามห้างต่าง ๆ ราคาน่าจะประมาณ ร้อยปลาย ๆ ถึง สามหรือสี่ร้อยบาทครับ

ขาปลั๊กแบบอังกฤษ ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับของไทย

R0017279เราคงแนะนำให้เตรียมอะแดปเตอร์อย่างนี้ไปสัก 2 อัน โดยอันหนึ่งอาจเอาไว้กับกระเป๋าคอมครับ ส่วนอีกอันหนึ่งก็เอาไว้ใช้ที่ห้องพัก ต่อเข้ากันปลั๊กต่อที่เตรียมไปครับ เอาแบบที่เสียบได้หมดทุกแบบเสียบเข้าไป คราวนี้ไม่ว่า เราได้ปลั๊กแบบไหนมาก็เสียบได้หมดครับ ปลั๊กต่อแบบที่รับได้หมดเดี๋ยวนี้ก็หาซื้อไม่ยากครับและมีคุณภาพดีขึ้นมาก ถ้าไม่สะดวกไปหาซื้อตามห้างไอที เราก็อาจจะซื้อจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ก็ได้ครับ

แม้ว่าโทรศัพท์จะสามารถถ่ายรูปได้อย่างดีแล้ว หลาย ๆ คนก็ยังอาจจะอยากมีกล้องดิจิตอลอยู่ สำหรับการเก็บภาพแบบจริงจังและการท่องเที่ยวครับ  ราคาไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ที่อังกฤษจะมีให้เลือกมากแบบมากยี่ห้อกว่าที่บ้านเราครับ

สายอื่น ๆ ก็อย่าลืมนะครับถ้ามี พวกสายต่อกล้องกับคอม สายชาร์จกล้อง และอื่น ๆ ด้วยครับ

apple, cable, chargingโทรศัพท์มือถือ

อันนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ซับซ้อนพอควรครับ

เราควรมีเครื่องโทรศัพท์ติดไปจากที่นี่ด้วยเพื่อที่จะได้มีโทรศัพท์ใช้เลยครับ ถ้าเครื่องไม่ใหม่นักก็เอาไปใช้แล้วเอาไว้เป็นเครื่องสำรองก็ได้ครับ ไปถึงประมาณเดือนแรกก็เอาเป็นแบบซื้อซิมเติมเงินกันไปก่อน ยังไม่ต้องเลิศมากก็ได้ เดี๋ยวพอเปิดบัญชีได้ ดูโปรฯ ดูเครื่อง ดูเพื่อน แล้วค่อยเลือกก็ได้ครับ ที่เด่นชัดคือ เมื่อไอโฟนออกประมาณเดือนสิงหาคมหรือกันยายน โทรศัพท์รุ่นก่อนหน้านั้นเกือบทั้งหมดจะปรับราคาคง

นอกจากนี้ ฮาร์ดดิสก์แบบต่อภายนอก ที่เราอาจจะอยากมีไว้เพื่อสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ อย่างภาพ หรือ หนัง หรือ เพลง  ถ้ายังชอบใช้ทัมไดรฟ์ก็เอาไปด้วยก็ดีครับสักอันสองอัน  สมัยนี้ คงไม่จำเป็นนักแล้วสำหรับทัมไดรฟ เพราะ มีบริการเก็บและแชร์ไฟล์อย่าง OneDrive, iCloud, Google Drive, Dropbox, Box.com, และอื่น ๆ อีกมากเป็นทางเลือกครับ สะดวก ปลอดภัย และ ฟรี

ถ้าเอากล้องดิจิตอลไปแล้วอาจจะอยากมีการ์ดรีดเดอร์ไปด้วย แต่เดี๋ยวนี้คงไม่ต้องแล้วครับ เพราะคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมักมีมาให้อยู่แล้ว ส่วนเครื่องพิมพ์ หรือ ปรินเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยได้จัดไว้ให้ตามห้องทำงานรวม หรือ ห้องคอมพิวเตอร์อยู่แล้วครับ มักเป็นเลเซอร์ปรินเตอร์ โดยเราจะมีเครดิตในบัญชีออนไลน์ครับ เวลาจะพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ เราก็ใส่ข้อมูลของเราแล้วพิมพ์ออกมาได้ หมดก็ไปเติมเงินได้ ถ้าอยากมีไว้เป็นของตนเองก็ซื้อหาได้ที่นั้นเลย ไม่แพงมากครับ ถ้าจะเตรียมไปก็ดูรุ่นไป แล้วก็ซื้อหมึกไปอย่างเดียวพอครับ

creative, highlighter, markerเครื่องเขียน

ที่อังกฤษก็น่าจะมีทุกอย่าง แต่อาจจะออกแนวเท่ห์ ๆ เรียบ ๆ หรือหวาน ๆ หน่อย จะไม่เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เกาหลีน่ารักสุดขีดเหมือนอย่างที่ขายกันในเมืองไทยครับ เราอาจจะเตรียมไปสักส่วนหนึ่งครับพอให้มีใช้ในช่วงแรก ๆ ครับ ถ้าจะเอาไปมากหน่อย อาจจะเป็นพวกโพสต์อิทหน้าตาแปลก ๆ ครับ ที่นั่นหลายอย่างอาจจะไม่มี

ถ้าจะเอาหนังสือเรียนไปด้วย มันจะหนักมากและไม่คุ้มครับถ้าจะเอาขึ้นเครื่องไปด้วย ผมแนะนำว่าแยกประเภทใส่กล่องแล้วเอาไว้ที่บ้านก่อน ถ้าไปถึงแล้วยังอยากใช้อยู่ ก็ค่อยติดต่อให้ที่บ้านส่งตามมาจะประหยัดและมีประสิทธิภาพมากกว่าครับ

อ้างอิง

ตรวจสอบราคาเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์

โทรศัพท์ – ผู้ให้บริการะบบโทรศัพท์เคลื่อนที่

banner-hocm

หากน้อง ๆ คนไหนสนใจศึกษาต่อประเทศอังกฤษ  สอบถามเพิ่มเติมเรื่องทุน  สมัครเรียน  สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Hands On – Chiang Mai เนื่องจากเราเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการครับ  โดยสามารถมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัว  และสมัครเรียนได้ที่นี่  โดยไม่คิดค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้นครับ

 

แฮนด์ส ออน เอดูเคชัน คอนซัลแทนต์ – สำนักงานเชียงใหม่

ที่อยู่ติดต่อ

ห้อง 107 ภิญโญพิงค์ แมนชั่น
199/9 ถนนห้วยแก้ว ตำบล สุเทพ อำเภอ เมือง
เชียงใหม่ 50200
ประเทศไทย

อีเมล์          chiangmai@hands-on.co.th

โทร.           +66 (0) 89 217 5454

เว็บ             http://www.hands-on.co.th
http://www.hands-on.co.th/chiangmai

เฟซบุค       http://www.facebook.com/handsonchiangmai

แผนที่

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s