ศึกษาต่อสหราชอาณาจักร: สถาบันที่มีชื่อเสียงในราคาที่ไม่แพงเกินไป
มีปัจจัยอยู่หลายอย่างในการเลือกมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้ง ชื่อเสียง หลักสูตรวิชา และค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกมหาวิทยาลัย ในบทความนี้เราจะพูดถึงชื่อเสียงและการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเปรียบเทียบกับค่าเล่าเรียน โดยเราจะเทียบการศึกษาในสหราชอาณาจักรกับประเทศที่นักเรียนไทยส่วนใหญ่สนใจซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย
ความมีชื่อเสียงและอันดับมหาวิทยาลัย
สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีของระบบมหาวิทยาลัยอังกฤษคือเน้นเรื่องมาตรฐานและคุณภาพโดยรวม มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรเป็นมหาวิทยาลัยรัฐซึ่งมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ มหาวิทยาลัยเอกชนมีอยู่เพียงแห่งเดียวซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแบบเต็มรูปแบบ รัฐบาลควบคุมมาตรฐานมหาวิทยาลัยทุกแห่งจากการตรวจสอบของสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา (QAA) เพื่อให้แน่ใจว่าทุกสถาบันมีมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับสูง มหาวิทยาลัยที่เพิ่งเปิดใหม่จะได้รับอนุญาตให้เปิดก็ต่อเมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพเท่ากับมหาวิทยาลัยอื่นๆ
นอกจากนี้หลักสูตรที่เปิดใหม่จะต้องผ่านการประเมินจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยอื่นก่อนได้รับการอนุมัติหลักสูตร และจะมีการประเมินอีกครั้งในทุกๆ 2-3 ปีเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพของแต่ละหลักสูตรยังคงอยู่ในระดับสูง
ด้วยเหตุนี้ทำให้มหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักรได้รับอัตราส่วนที่สูงมากในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 200 อันดับแรกทั่วโลกโดย Higher / QS survey มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรติดอันดับถึง 130 สถาบันหรือประมาณ 25% ในขณะที่มหาวิทยาลัยของออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ 18% (จากมหาวิทยาลัย 48 แห่ง) และอเมริกาได้น้อยกว่า 1% (จากวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยกว่า 5000 แห่ง)
Source: THE-QS Top 200 University Ranking
หลักสูตรปริญญาตรี 3 ปี / ปริญญาโท 1 ปี
นอกจากการรักษาคุณภาพการศึกษาระดับสูงไว้ได้ สหราชอาณาจักรยังได้ปฏิรูประบบการศึกษาในหลักสูตรปริญญาทำให้นักเรียนสามารถจบการศึกษาโดยใช้เวลาน้อยกว่าประเทศอื่นๆ
โดยปกติหลักสูตรปริญญาโทในสหราชอาณาจักรใช้เวลาเรียน 1 ปีซึงประหยัดเวลาไปได้ 6 เดือนถึง 1 ปีเพื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ นั่นหมายความว่าคุณสามารถทำงานก่อนผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยจากประเทศอื่นถึง 1 ปี มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรบางแห่งมีหลักสูตร intensive เรียน 9 เดือน สอนวิชาเฉพาะด้าน / สาขาก่อนเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาโท 1 ปี
สำหรับนักเรียนที่เรียนจบมัธยมปลายหลักสูตรนานาชาติ (เช่น A-levels หรือปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ) เข้าเรียนต่อหลักสูตรปริญญาตรี 3 ปีช่วยประหยัดเวลาไปได้ 1 ปีเมื่อเทียบกับระบบการศึกษาในประเทศอื่น อย่างไรก็ตามนักเรียนไทยส่วนมากที่เรียนระบบการศึกษาไทยจะต้องเข้าเรียนหลักสูตรปูพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาระดับปริญญาในสหราชอาณาจักร
อัตราแลกเปลี่ยน
ใน 2-3 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งหมายความว่าเงินที่คุณมีอยู่ตอนนี้มีมูลค่ามากขึ้น
ในปี 2006 1 ปอนด์สเตอร์ลิงเท่ากับ 70 บาท แต่ตอนนี้ 1 ปอนด์สเตอร์ลิงมีค่าเท่ากับ 49 บาท หมายความว่าถ้าตอนนี้คุณไปศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรเงินบาทที่คุณมีอยู่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 30% ในขณะเดียวกันถ้าคุณไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาเงินบาทจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพียง 20% เท่านั้น
ขณะเดียวกันสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งขึ้นทำให้แลกเงินได้น้อยลงถึง 7% เมื่อเทียบกับปี 2006
Source: x-rates.com
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
เมื่อดูที่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเรียนในสหราชอาณาจักรเทียบกับประเทศอื่นๆ จะเห็นข้อได้เปรียบหลักๆ อยู่ 2 อย่างคือ ระยะเวลาในการเรียนและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายปัจจัยที่คุณควรพิจารณาด้วยเช่นกัน
ในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียนักเรียนจะต้องเป็นผู้ซื้อประกันสุขภาพเอง ในขณะที่นักเรียนในสหราชอาณาจักรที่เรียนหลักสูตรมากกว่า 6 เดือนจะได้รับการประกันสุขภาพฟรีจาก National Health Service
ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยสหราชอาณาจักรหลายแห่งมี e-book และ e-journal มากมายจัดเตรียมไว้ให้ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อตำราเรียนซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเรียนได้มาก
การศึกษาต่อต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสาร สหราชอาณาจักรนับได้ว่าเป็นประเทศที่มีทั้งคุณภาพสูงและค่าเล่าเรียนที่ไม่แพงนัก เมื่อปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับนักเรียนไทยส่วนใหญ่คือคุณภาพของการศึกษาและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เราจึงอยากให้คุณตระหนักว่าระบบการศึกษาที่เป็นที่นิยมในสหราชอาณาจักรนั้นถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
ถูกใจบทความนี้ ช่วยกด ‘Like’ กันหน่อยนะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้แต่งผลิตบทความดีๆ กันต่อไปค่ะ
ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม, กด ‘like’ เราในหน้า Facebook, ติดตามเราผ่านทาง Twitter | @handsoncm , หรือแวะเข้ามาออฟฟิศ Hands On สาขาเชียงใหม่
ที่มา : http://www.hands-onconsultants.com/thailand/blog/?p=841&lang=TH
อันดับมหาวิทยาลัย VS อัตราการจ้างงาน
สิ่งหนึ่งที่นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ในการพิจารณาเลือกมหาวิทยาลัยเรียนต่อต่างประเทศคือตารางจัดอันดับ โดยการหาข้อมูลจากไกด์บุ๊คหรือเสิร์ชกูเกิลดูว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งไหนบ้างที่สามารถเข้าได้
เราได้เคยพูดถึงหัวข้อนี้แล้วในบทความเรื่อง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีประโยชน์จริงหรือ การจัดอันดับนั้นพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความพึงพอใจของนักเรียน คุณภาพของการวิจัย อุปกรณ์ไอที รวมถึงอัตราการจ้างงาน
เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาสถิติการจ้างงานของมหาวิทยาลัยประเทศอังกฤษทำให้นักเรียนประหลาดใจอยู่ไม่น้อย จากสถิติแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแถวหน้าไม่จำเป็นว่าจะได้งานที่ดีที่สุดเสมอไป
ตัวเลขการจ้างงานคำนวณอย่างไร
Higher Education Statistics Authority (HESA) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลอังกฤษซึ่งคำนวณสถิติในหลายๆ ด้านของมหาวิทยาลัยรวมถึงอัตราการจ้างงาน
สถิติการจ้างงานจะคำนวณจากการสำรวจกลุ่มนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 6 เดือนว่าได้งานทำหลังจากเรียนจบตามระดับวุฒิการศึกษาหรือไปศึกษาต่อปริญญาโทหรือปริญญาเอก การจ้างงานตามระดับวุฒิการศึกษาหมายถึงทำงานตรงตามสาขาที่เรียน — ไม่ใช่ทำงานในแมคโดนัลด์
ประโยชน์ของสถิติการจ้างงาน
– ให้ผลสะท้อนที่เร็วและดีในการวัดความสำเร็จหลังจากสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัย ช่วยให้นักเรียนสามารถเตรียมพร้อมและหางานที่ดีๆ ทำหลังเรียนจบ
– การจัดอันดับการจ้างงานแสดงให้เห็นถึงความประสบความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในการให้คุณประโยชน์พิเศษกับนักเรียน มหาวิทยาลัยที่ได้รับอันดับการจ้างงานสูงกว่าอันดับโดยรวมมักจะให้บริการด้านการหางานที่ยอดเยี่ยมและมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดี
– ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีเกรดเฉลี่ยสูง สถิติการจ้างงานจะเป็นอีกปัจจัยหนึงที่จะช่วยคุณตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่ดีทีสุดสำหรับต่อยอดอนาคตการทำงานนอกเหนือจากอันดับมหาวิทยาลัย
ปัญหาของสถิติการจ้างงาน
– เป็นการยากในการคำนวณหาอัตราการจ้างงานในแต่ละสาขาวิชา ถ้าคุณสนใจเรียนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอังกฤษ และอยากรู้ว่ามีอัตราการจ้างงานที่แน่นอนสำหรับนักเรียนในสาขาวิชานี้เท่าไหร่ขอบอกเลยว่ายากมากและอาจจะไม่แม่นยำเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นการสํารวจจากนักเรียนกลุ่มเล็ก อัตราการจ้างงานจะแม่นยำมากขึ้นเมื่อมองที่ภาพรวมของมหาวิทยาลัยทั้งหมด
– สำรวจจากนักเรียนที่เรียนจบไปแล้ว 6 เดือนและใช้เวลาช่วงหนึ่งในการวิเคราะห์ผล ดังนั้นสถิติที่ถูกเผยแพร่ออกไปในขณะนั้นอาจเป็นข้อมูลที่เก่าไปแล้ว
– สถิติจะอ้างอิงตามนักเรียนอังกฤษเนื่องจากผู้ที่ทำสำรวจส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ เราจะไม่ทราบสถิตินักเรียนจากประเทศอื่นๆ เช่น ในประเทศไทยว่าหางานทำได้เท่าไหร่
– สถิติการจ้างงานวัดจากนักศึกษาปริญญาตรีมากกว่านักศึกษาปริญญาโท
จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่ได้ช่วยให้เราได้งานที่ดีที่สุดหรือ?
จากผลการสำรวจในปี 2009/10 นักเรียนที่จบจาก University of Huddersfield มหาวิทยาลัยแถวหน้าเรื่องอัตราการจ้างงานสูงมีงานทำหรือไม่ก็เรียนต่อประมาณ 93.7% ในขณะที่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากสถาบันต่างๆ จัดอันดับมหาวิทยาลัยนี้อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับ University of Oxford ที่มีชื่อเสียงแต่มีอัตราการจ้างงาน 90.2% ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของทุกๆ มหาวิทยาลัยในอังกฤษ
มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน?
มหาวิทยาลัยที่ใหม่กว่าอย่างเช่น University of Huddersfield Nottingham Trent University และ Coventry University จะเด่นในด้านความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม การบรรจุเข้าทำงานในบริษัท และการศึกษาเชิงปฏิบัติ ในขณะที่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ เช่น Oxford University of Bristol และ Durham University เน้นการวิจัย
ควรให้ความสำคัญกับสถิติการจ้างงานมากแค่ไหน?
มหาวิทยาลัยที่เปิดมาแล้วยาวนานมักจะมีอัตราการจ้างงานที่ดีเยี่ยม ส่วนมหาวิทยาลัยเปิดใหม่หลายแห่งจะทำไม่ได้ดีขนาดนั้น หากการจ้างงานถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณ คุณควรพิจารณาเรื่องอัตราการจ้างงานหลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย
ท้ายที่สุดความสำคัญของสถิติการจ้างงานในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยนั้นขึ้นอยู่ที่คุณ
แหล่งที่มาและอ่านเพิ่มเติม:
Employability: the new student buzzword at universities, BBC News.com
Employability statistics for students graduation in 2002/03 until 2009/10, HESA
Aston beats Oxbridge for Graduate Employability, Sunday Times
Middlesex University students amongst top graduate earners, Times Higher Education Supplement
Salary premium from post-92s can trump that of bigger names, Times Higher Education Supplement
ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม, กด ‘like’ เราในหน้า Facebook, ติดตามเราผ่านทาง Twitter | @handsoncm , หรือแวะเข้ามาออฟฟิศ Hands On สาขาเชียงใหม่
ที่มา : http://www.hands-onconsultants.com/thailand/blog/?p=927&lang=TH
สมัครเรียนต่อไม่ยากอย่างที่คิด
การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อต่างประเทศ
เดือนกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่นักเรียนเริ่มต้นสมัครเรียนต่อประเทศอังกฤษ และเป็นช่วงที่ยุ่งที่สุด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยติดต่อเรามา และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวสมัครเรียนต่อ รวมถึงเคล็ดลับที่จะทำให้การสมัครนั้นได้ผล
ตอนนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ มาฝากกันแล้ว รวมถึงคำแนะนำจากตัวแทนมหาวิทยาลัยในการเตรียมความพร้อมเพื่อสมัครเรียนต่อ พร้อมแล้วมาดูกันเลย
1. เลือกสมัครในมหาวิทยาลัยที่มีโอกาสเข้าเรียนได้
– ตอนที่เตรียมตัวสมัคร ควรมองตามจริงว่ามีโอกาสในการเข้าเรียนต่อที่สถาบันนั้นๆ มากน้อยแค่ไหน อย่าสมัครเยอะๆ หลายๆ มหาวิทยาลัย คุณควรเลือก 3-4 มหาวิทยาลัยที่มีโอกาสเข้าได้ก็พอ
– GPA เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดในการสมัครเรียนต่ออังกฤษ
– แม้ว่าคุณจะมีประสบการณ์การทำงาน, Statement of Purpose, และเกรดที่ยอดเยี่ยมจากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่จำเป็นต้องทำตามมาตรฐานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยกำหนด อาจจะพอคุยได้ ถ้าเกรดขาดอยู่ประมาณ 0.1 – 0.2 คะแนน
– มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษมีมาตรฐานทางการศึกษาที่ดี ทางเราจะช่วยคุณหาสถาบันที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด
2. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
– เอกสารที่ต้องเตรียม คือ ใบสมัคร, Personal Statement / Statement of Purpose (SoP), ใบสำเร็จการศึกษา, ใบอ้างอิงจากทางมหาวิทยาลัย หรือจากบริษัทที่เคยทำงาน, และคะแนน IELTS / TOEFLS (ถ้ามี)
– อย่าลืมใส่ชื่อผู้สมัครบนแบบฟอร์มใบสมัคร และ SoP ทุกครั้ง
– ใส่ชื่อตัวแทนของคุณ เช่น Hands On Education Consultants ลงไปด้วย เพื่อทางเราจะได้ติดตามใบสมัครของคุณได้ถูกต้อง
– เขียน หรือพิมพ์อีเมลของคุณให้ชัดเจน เพื่อที่ว่าทางมหาวิทยาลัยจะได้ติดต่อคุณ และอัพเดทข้อมูลมหาวิทยาลัยถึงคุณได้
หมายเหตุ ฝ่ายรับสมัครนักเรียนต่างประเทศในบางมหาวิทยาลัยจะทำการพิจารณาใบสมัครของคุณ หลังจากได้รับเอกสารทั้งหมดแล้ว ยกเว้นคะแนน IELTS / TOEFL และปริญญาบัตรที่ส่งตามหลังมาได้ ส่วนบางมหาวิทยาลัยอาจจะรับนักเรียนเข้าเรียนต่อได้เลย โดยดูแค่วุฒิการศึกษา และ SoP ส่วนเอกสารอื่นๆ สามารถส่งมาทีหลังได้
3. อย่ามองข้าม Statement of Purpose / Personal Statement
– SoP สำคัญมาก หลายมหาวิทยาลัยพิจารณารับผู้สมัครจากการเขียน SoP ถ้าเกรดเฉลี่ยต่างจากที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้แค่ 0.1 -0.2 คะแนนเท่านั้น
– เขียนอธิบายตัวตนของผู้สมัครให้มากที่สุด และชัดเจนที่สุด ควรเน้นจุดแข็ง และอธิบายจุดด้อย
– เขียนเหตุผลที่เลือกเรียนในหลักสูตร และมหาวิทยาลัยนั้นๆ อย่างชัดเจน
– ตรงประเด็น ไม่จำเป็นต้องเขียนคำชื่นชมมหาวิทยาลัยมากเกินไป เขาไม่อ่านส่วนนี้หรอก
– อ่านเคล็ดลับในการเขียน SoP ที่ดีได้ใน blog ของเรา
– อย่าคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของ SoP ที่คุณเจอในอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรู้อยู่แล้วว่าคุณคัดลอกมา และจะปฏิเสธใบสมัครของคุณทันที
4. สมัครเข้าศึกษาต่อเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
– หลักสูตร และมหาวิทยาลัยที่เป็นที่นิยมมักจะเต็มอย่างรวดเร็ว
– มีสิทธิ์ในการพิจารณาก่อนผู้สมัครคนอื่น
– มีโอกาสในการได้รับทุนการศึกษามากขึ้น
5. ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรให้มากที่สุด
– แสดงให้เห็นถึงความสนใจ และการเตรียมพร้อมก่อนเข้าศึกษา
– แสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจวิชา และหลักสูตรที่ต้องการเข้าศึกษาอย่างถ่องแท้ และควรระบุสิ่งที่คุณรู้ใน SoP และในช่วงสัมภาษณ์
6. ภาษาอังกฤษที่ดี
– สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
7. ต้องมีความรับผิดชอบ
– ถ้ามีนัดสัมภาษณ์ควรมาให้ตรงตามเวลานัด
– ถ้าได้รับอีเมลจากตัวแทนมหาวิทยาลัย ให้คุณรีบตอบกลับตามเวลาที่กำหนด
คำแนะนำจากตัวแทนมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ
Craig Smitherman, University of East Anglia
“สิ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องเตรียม คือ ค้นคว้าหลักสูตรที่คุณจะเข้าเรียนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เขียนเหตุผลที่คุณต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนั้นๆ ลงบน Personal Statement สิ่งเหล่านี้จะพิสูจน์ให้ผู้รับสมัครเห็นว่า คุณละเอียดรอบคอบ และให้ความสนใจกับการศึกษาเป็นอย่างมาก”
Mark Barlow, University of East Anglia
“แนะนำให้สมัครโดยเร็ว เพราะมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่เป็นที่นิยมนั้นมักจะเต็มก่อนภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิ (Spring).”
Charlene Allen, University of Reading
“เรามองหานักเรียนที่เฉียบแหลมที่สุด ในการรับนักศึกษาใหม่เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยของเรา เราอยากรู้ประสบการณ์ของคุณ แรงจูงใจในการเข้าเรียนหลักสูตร และหลักสูตรนี้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของคุณได้อย่างไร ให้เขียนสิ่งเหล่านี้ลงบน Personal Statement ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์มากในการคัดเลือกนักเรียนต่างชาติที่จะได้รับทุนการศึกษา นอกจากนี้ตอนที่สมัครออนไลน์ อย่าลืมส่งเอกสารประกอบ ถ้าคุณเป็นนักเรียนที่เราต้องการ เราจะขอแบบฟอร์มใบสมัคร และเอกสารที่จำเป็นอื่นๆ เพิ่มเติม”
Claire Frusher, Lancaster University
“ควรสมัครโดยเร็ว คู่แข่งน้อย ทำให้ตัดสินใจรับเข้าศึกษาได้เร็วขึ้น และมีโอกาสได้รับทุนการศึกษามากขึ้น”
Lajwant Willemsen, Oxford Brookes University
“Statement of Purpose เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้สมัครควรทำการค้นคว้าหาข้อมูลก่อน และแสดงความกระตือรือร้นที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร และมหาวิทยาลัยนั้นๆ อย่างแท้จริง”
Shona Malcolm, University of Huddersfield
“ถ้าภาษาอังกฤษของคุณไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ ทางมหาวิทยาลัยจะแนะนำให้คุณเรียนคอร์ส Pre-session English Programs เพื่อพัฒนาภาษา ก่อนที่คุณจะย้ายไปอยู่ในสหราชอาณาจักร ถ้าความรู้ทางวิชาการของคุณยังไม่แน่นพอที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรจริงได้ คุณก็สามารถเข้าเรียน Pre-master’s ก่อนได้ และนี่ก็จะช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณได้อีกทางหนึ่งด้วย”
David Tupper, Birkbeck, University of London
“การเตรียมตัวสมัครเรียนที่ดี ผู้สมัครควรให้เวลากับการเขียน SoP ให้มาก คิดให้รอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน วิเคราะห์ให้ดีว่าจะเขียนเนื้อหาอะไร หาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่ต้องการเข้าศึกษาให้มาก เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณรู้ข้อมูล หลักสูตร และมหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษาเป็นอย่างดี”
ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม, กด ‘like’ เราในหน้า Facebook, ติดตามเราผ่านทาง Twitter | @handsoncm , หรือแวะเข้ามาออฟฟิศ Hands On สาขาเชียงใหม่
ที่มา : http://www.hands-onconsultants.com/thailand/blog/?p=305&lang=TH